ถามเรื่องโครงสร้างของรังผึ้ง
ReadyPlanet.com


ถามเรื่องโครงสร้างของรังผึ้ง


อยากทราบว่าทำไมโครงสร้างของรังผึ้งถึงเป็นรูป 6 เหลี่ยมน่ะครับ ช่วยตอบทีนะครับ ผมทำโครงงานน่ะครับ ^^



ผู้ตั้งกระทู้ Freedom :: วันที่ลงประกาศ 2007-01-28 11:03:50 IP : 58.181.188.171


ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 1 (801096)

เป็นคำถามที่คิดหนักเหมือนกันนะคะ จะว่าง่ายก็ง่าย คือตอบว่า ธรรมชาติสร้างมาเป็นแบบนี้ (ตอบแบบกำปั้นทุบดินไปมั้ยคะ) ส่วนที่ว่ายากคือ ทำไมธรรมชาติคือตัวผึ้ง ถึงสร้างให้เป็น 6 เหลี่ยม ไม่เป็นวงหลม สามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม

จากที่หาข้อมูลมา (ต้องบอกว่าหาข้อมูลมาคะ เพราะเดิมทีก็ไม่ทราบเหมือนกัน และก็ยังไม่เคยคิดสงสัย จนมีคนถามมานี่แหละ) ทรงหกเหลี่ยมเมื่อเรียงต่อกัน สามารถเรียงต่อกันได้สนิท ไม่เกิดช่องว่างระหว่างเซล ขณะที่วงกลมเมื่อเรียงต่อกัน จะเสียพื้นที่ระยะห่างระหว่างเซลไปบางส่วน การที่ขอบต่อกันได้สนิทน่าจะมีข้อดี 2 ประการคือ ใช้ประโยชน์พื้นที่ได้สูงสุด และมีความแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้ผึ้งทำงานน้อยลง เนื่องจากไม่ต้องสร้างผนังด้านที่ใช้ร่วมกัน

ส่วนสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ถึงแม้จะเรียงต่อกันได้สนิท แต่ขอบของสามเหลี่ยมที่เรียงต่อกันจะไม่เป็นเส้นตรง ขณะที่สี่เหลี่ยม ได้ขอบเส้นตรง แต่ความแข็งแรงก็จะสู้แบบหกเหลี่ยมไม่ได้ รูปหกเหลี่ยมจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับรังผึ้ง ทั้งในเรื่องพื้นที่และความแข็งแรง

จะเห็นได้ว่า ธรรมชาติสร้างสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ และผึ้งก็สามารถสร้างรังให้แข็งแรงและให้บรรจุน้ำผึ้งได้มากที่สุด โดยไม่ต้องเรียนวิชาเรขาคณิตหรือฟิสิกส์เลย เก่งมั้ยคะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2007-01-30 22:02:47 IP : 202.5.83.225


ความคิดเห็นที่ 2 (1852506)
เพราะการที่ผึ้งสร้างหกเหลี่ยม จะทำให้ได้ปริมาณการเก็บมากกว่า สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม ถ้าใช้วัสดุการสร้างที่เท่ากัน
ผู้แสดงความคิดเห็น c4rking วันที่ตอบ 2008-03-21 09:52:59 IP : 58.147.20.168


ความคิดเห็นที่ 3 (3082200)

โคร้งสร้างของรังของผึ้งขึ้นอยู่กับชนิดของผึ้ง

เเต่ล่ะชนิดเเตกต่างกันออกไปตามเเต่ละสายพันธ์

เเอย่างไรเราต้องช่วยกันอนุรักษ์

ผู้แสดงความคิดเห็น fern (fern_zaza43-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-27 15:52:03 IP : 124.120.1.106



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.